การกระทำที่ถือว่าเป็นกรรม
การกระทำที่ถือว่าเป็นกรรม
การกระทำที่ถือว่าเป็นกรรมที่มีผลส่งทอดสืบต่อในภพเบื่องหน้า
( กรรมในบทความนี้ หมายเอา กรรมที่มีผลสืบทอดต่อ ในความเป็นบุญ ความเป็นบาป อันจะนำพาให้ก่อภพชาติ )
หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมที่ต้องมีผลตกทอด เป็นบุญเป็นบาปตามการกระทำนั้นๆทั้งสิ้น ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนา คือใจไม่ได้สั่งให้ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรมที่จะมีผลตกทอดเป็นบุญเป็นบาป เช่นคนเจ็บซึ่งมีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบออกมา เอามือหรือเท้าไปถูกใครเข้าก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตซึ่งล่วงเกินสิกขาวินัยไม่ต้องอาบัติ ทั้งนี้ก็โดยหลักเกณฑ์ที่ว่า ถ้าผู้ทำไม่มีเจตนา กระทำแล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นกรรม
หลักเกณฑ์ข้อที่ ๒ ที่ว่า การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือเป็นบาป ก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากการกระทำของปุถุชน เนื่องจากพระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึดถือในตัวตน การกระทำเรียกว่า อัพยากฤต ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว บุญและบาปก็ไม่มี การกระทำของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่า กรรม แต่เรียกว่า กิริยา ส่วนปุถุชนหรือแม้กระทั้งพระเสขะบุคคล ตั้งแต่โสดาบัน จนถึงอนาคามี ยังมีกิเลส หยาบบ้างละเอียดบ้างลดหลั่นกันไปตามภูมิธรรม ยิ่งเป็นปุถุชนแล้ว ความยึดมั่นยิ่งมีเต็มอัดตรา ในตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึดถือว่าตนเป็นผู้กระทำ การกระทำของปุถุชนจึงเป็นกรรม ย่อมจะก่อให้เกิดวิบากหรือผลเสมอกรรมดีก็ก่อให้เกิดบุญส่วนกรรมชั่วก็ก่อให้ เกิดบาป
คน บางคนเข้าใจว่ากรรมหมายถึง สิ่งไม่ดีคู่กับเวร หรือบาป เช่นที่เรียกว่า เวรกรรม หรือ บาปกรรม ตรงกันข้ามกับฝ่ายข้างดีซึ่งเรียกว่าบุญ ทั้งนี้เพราะเราได้ใช้คำว่ากรรมในความหมายที่ไม่ดี เช่นเมื่อเห็นใครต้องประสบเคราะห์ร้ายและถูกลงโทษ เราก็พูดว่ามันเป็นเวรกรรมของเขา หรือเขาต้องรับบาปกรรมที่เขาทำไว้ แต่ความจริงคำว่ากรรมเป็นคำกลาง ๆ หมายถึงการกระทำตามที่กล่าวมาแล้ว จะมุ่งไปในทางดีก็ได้ ทางชั่วก็ได้
ทางแห่งการทำกรรม จำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมชาติที่เป็นมูลเหตุมี ๒ อย่าง คือ
๑.กรรมฝ่ายไม่ดีคือกรรมชั่วเรียกอกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมบถ
๒.กรรมฝ่ายดีเรียกกุศลกรรมหรือกุศลกรรมบถ
ที่มา:http://variety.teenee.com/foodforbrain/14385.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น